
ประวัติ
ชื่อ : ก่อเกียรติ ทองผุด
ประสบการณ์ :
- หัวหน้าผู้ออกแบบพระเมรุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ 3 ครั้ง
- ร่วมงานในการออกแบบพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนี ปี 2539 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ปี 2551 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพัณณวดี ปี 2555 - ผู้ออกแบบและขยายแบบพระที่นั่งกาญจนาภิเษก ที่จัดสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ 50 ปี
คนที่จะทำงานได้ดีต้องมีแรงผลักดันในสิ่งที่รัก มีความกระหาย มีครูมีต้นแบบที่ดี มีความกล้า คิดให้มากเพียรให้มาก เราก็จะไปถึงเป้าหมายได้
ก่อเกียรติ ทองผุด ผู้ออกแบบพระเมรุมาศงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
บางคนบอกว่าทำงานศิลป์ต้องมีบรรยากาศ แต่ความจริงแล้วเราต้องพร้อมทำงานทุกที่ทุกเวลา เราต้องทำทุกโอกาส เล็กๆก็ต้องทำ เพราะการใช้ฝีมือใช้ความคิดนั้นพอลองทำบ่อยๆ เราจะพบลู่ของตัวเองในการทำงาน
“อิสระ ลดหลั่น สวยงาม” คือพระราชปรารภของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกมุารีที่ทรงมีต่อผลงานแบบพระเมรุมาศทรงบุษบก ๙ ยอด ที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผลงานออกแบบที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์มาก่อน ซึ่งออกแบบโดย ก่อเกียรติ ทองผุด ร่วมกับ นายธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกของกรมศิลปากรและทีมงานอีกหลายชีวิต และทรงมีพระราชวินิจฉัยเลือกให้ก่อสร้างขึ้นเพื่องานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๙
ก่อเกียรติคิดอยู่เสมอว่าแบบของเขาที่ได้รับเลือกนั้นไม่ได้เป็นเพราะความเก่งกาจหรือเพราะโชคช่วยหากแต่คือความพร้อมที่เขาเฝ้าเรียนรู้จากอาจารย์อาวุธ เงินชูกลิ่น และเคี่ยวกรำฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ เมื่อได้รับโอกาสจึงพร้อมที่จะทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตได้อย่างสุดความสามารถและให้สมบูรณ์ที่สุด แม้ว่าจะยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความโศกเศร้า
พระเมรุมาศของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ออกแบบภายใต้แนวคิดพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพลงมาจุติยังโลกมนุษย์ เมื่อสวรรคตจึงมีการจัดพระราชพิธีส่งดวงพระวิญญาณกลับสู่ทิพยวิมานประดิษฐานเหนือยอดเขาพระสุเมรุบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ศูนย์กลางของจักรวาลดังเดิม ก่อเกียรตินำเค้าสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศทรงบุษบกของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๙ ที่ได้รับแรงบันดาล ใจมาจากพระมหาเจดีย์ภักดีประกาศ จ.ประจวบครีขันธ์ เกิดเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก ๙ ยอด ตรงกลางเป็นบุษบกใหญ่ ๗ ชั้น เชิงกลอนเปรียบดั่งเขาพระสุเมรุ แวดล้อมด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ คือบุษบกขนาดเล็กวางระดับลดหลั่นลงมาที่มุมทั้งสี่ประดับด้วยประติมากรรมอันแสดงถึงความเป็นทิพยสถานทั้งทวยเทพและสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นศิลปะที่เรียกว่าเหมือนจริงเหนือจินตนาการ และศิลปะบังเพลิงที่เป็นภาพมีกล้ามเนื้อเหมือนมนุษย์จริง ทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระนารายณ์และโครงการพระราชดำริต่างๆ เพื่อสื่อถึงพระอัจฉริยภาพในพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ที่ทรงทำเพื่อพสกนิกรของพระองค์มาตลอดระยะ ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ ทั้งยังมีการขุดสระน้ำจริงที่สื่อถึงสระอโนดาตอันเป็นรอยต่อเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามนุ่มนวล เปี่ยมด้วยความหมายลึกซึ้ง และยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
ก่อเกียรติเชื่อว่าจินตนาการคืออาวุธสำคัญของนักออกแบบแต่หากไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานได้ทันเวลาที่ต้องการก็หมดความหมาย เขาจึงหมั่นฝึกฝนตนเองและเตรียมพร้อมอยู่เสมอไม่ว่าโอกาสจะเข้ามาเมื่อใดก็พร้อมที่จะทำงานชิ้นนั้นอย่างสุดความสามารถ และผลงานออกแบบพระเมรุมาศอันยิ่งใหญ่สมพระเกียรตินี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างสรรค์หลายต่อหลายคน เพียรฝึกตนลับฝีมือให้คมอยู่เสมอเพื่อที่วันหนึ่งจะพร้อมทำหน้าที่ได้ในทุกโอกาสดังเช่นพระเมรุมาศอันยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ได้ลงมือทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ด้วยความพร้อม และฝากไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่เพื่อส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ผู้เป็นดวงใจไทยทั้งชาติเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้
งานพระเมรุมาศครั้งนี้มีความหลากหลายทางด้านศิลปกรรม ผมเองเป็นแค่คนออกแบบ แต่งานจะสำเร็จสมพระเกียรติได้ต้องประกอบด้วยทีมงานหลายส่วน ซึ่งทุกคนอยากมาทำถวายในหลวงด้วยความเสียสละและสามัคคี ต่อไปงานพระเมรุมาศนี้จะเป็นองค์ความรู้ทางด้านศิลปะไทยที่คนรุ่นต่อไปจะได้มา ศึกษาเรียนรู้
“คนที่จะทำงานได้ดีต้องมีแรงผลักดันในสิ่งที่รัก มีความกระหาย มีครูมีต้นแบบที่ดี มีความกล้า คิดให้มากเพียรให้มาก เราก็จะไปถึงเป้าหมายได้” อ.ก่อเกียรติ
พงศ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์
ส้วม เป็นสถานที่ปลดทุกข์ ใช้แล้วต้องมีสุข
สลา คุณวุฒิ
ผมเป็นแบบทุกวันนี้ได้ เพราะหัวใจความเป็นครู ผมลาออกจากราชการแต่ไม่เคยลาออกจากความเป็นครู
โชคนิธิ คงชุ่ม
จงทำในสิ่งที่คุณทำได้ ณ จุดที่คุณอยู่ ด้วยสิ่งที่คุณมี